นิราศนรินทร์คำโคลง
ความเป็นมา
นิราศ
เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย
ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง
.เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี
(ชาย)
ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม
อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ
ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
๑.๓ นางในนิราศ
สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น
อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า
นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง
เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท
เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง
ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์
นิราศนรินทน์คำโคลง
นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้
คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ
เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์
ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บุญเพรงพระหากสรรค์ ฝึกฟื้นใจเมือง
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลยแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บุญเพรงพระหากสรรค์ ฝึกฟื้นใจเมือง
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลยแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
๒.ประวัติผู้แต่ง
นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์
ด้ยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม
แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
“โคลงนิราศเรื่องนี้ นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน ว่าไว้”
๓.ลักษณะคำประพันธ์
นิราศนรินทน์คำโคลง
แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท
๓.๑ ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค
วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้
แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่
๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท
คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก
(ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ
(คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน
บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม
คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด
ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง
เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก
แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว
(ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
๕.เนื้อเรื่อง
นิราศนรินทน์
ศรีสิทธิ์พิศาลภพ
เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญท้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเกริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์
ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บุญเพรงพระหากสรรค์ ฝึกฟื้นใจเมือง
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บุญเพรงพระหากสรรค์ ฝึกฟื้นใจเมือง
ฯลฯ
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ฯลฯ
ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง แรมนวล นาฏฤา
เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พี่พู้นภายหลัง
เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พี่พู้นภายหลัง
ฯลฯ
๑. คำศัพท์และคำอธิบาย
พิศาลภพ
|
โลกอันกว้างขวาง
|
||
เลอหล้า
|
เหนือโลก บนโลก สูงเด่นในโลก
|
||
แผ่นผ้าง
|
แผ่นพื้น
|
||
รพิพรรณ
|
แสงอาทิตย์
|
||
ขุญหาญ
|
ขุนพล แม่ทัพ
|
||
ห้าว
|
กล้า
|
||
ไตรรัตน์
|
แก้วสามดวง
|
||
แก่นหล้า
|
เป็นแก่นโลก หลักโลก
|
||
เยียวว่า
|
ถ้าว่า แม้ว่า
|
||
เลื่อน
|
พาไป
|
||
ชาย
|
พัด
|
||
จักรี
|
ผู้มีจักร
|
||
เกลือก
|
หาก บางที
|
||
คล้อง
|
รับ
|
||
โท
|
สอง
|
||
ขำ
|
งาม
|
||
ท่ง
|
ทุ่ง
|
||
หิวมเวศ
|
หิมพานต์
|
||
รุม
|
ร้อน
|
||
เลข
|
เขียนหนังสือ
|
||
กำสรวล
|
โศกเศร้า
|
||
บทวิเคราะห์
๗.๑ ด้านกลวิธี การแต่ง
๑) การใช้คำ กวีใช้คพที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ
โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ
๑.๑) เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
๑.๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
- สัมผัส
- การเล่มคำ
๒) ภาพพจน์
๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือการกล่าวเกินจริง
เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ
๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้คำสมมุติต่างๆ
ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์
๗.๒ ด้านสังคม
๑. นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรม
๒. นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชการที่
๒
นิราศนรินทร์คำโคลง
เป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์
เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธุ์โคลงที่มีเนื้อหาพรรณอารมณ์
ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น